top of page

Services

What We Do

นับตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ที่ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร.อีสาน) ก่อตั้งขึ้นภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.)

 

ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มทร.อีสาน ได้ดำเนินการบ่มเพาะผู้ประกอบการประเภทต่างๆ  ได้แก่ ผู้ประกอบการใหม่ (Start-up Business) จำนวน 10 ราย และบริษัทเต็มรูปแบบ (Spin-off Business) จำนวน 3 ราย จากนักศึกษา ศิษย์เก่า อาจารย์เจ้าของผลงานวิจัย และบุคคลภายนอก ให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้อย่างยั่งยืนตามแผนธุรกิจที่ได้จากคำแนะนำของศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ โดยมีระยะเวลาบ่มเพาะธุรกิจแต่ละประเภท (Start-up & Spin-off Business) คราวละ 2 ปี ในรูปแบบของการให้คำปรึกษาเฉพาะด้านจากที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญ ทั้งจากองค์ความรู้ภายในมหาวิทยาลัย หน่วยงาน และบุคคลภายนอก

 

นอกจากนี้ ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มทร.อีสาน ยังมีแผนดำเนินการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเสริมสร้างความตระหนัก สร้างจิตวิญญาณในการเป็นผู้ประกอบการ รวมทั้งสนับสนุนส่งเสริมกิจกรรมของชมรมผู้ประกอบการนักศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่นักศึกษา คณาจารย์ และบุคคลทั่วไป ในการปูพื้นฐานในการเป็นผู้ประกอบการใหม่ในอนาคตต่อไป

 

Our specialization

ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของ UBI มทร.อีสาน

 

1. ด้านพัฒนาการบริหารจัดการ
การวางระบบบัญชีและการตรวจสอบบัญชีสำหรับภาษีอากรเบื้องต้นสำหรับผู้ประกอบการที่จดทะเบียนนิติบุคคล
การสร้างตราและการวางแผนการตลาด (Branding and Marketing planning)
การวางระบบจำหน่ายสินค้าออนไลน์ (e-commerce)
การวางแผนการเงิน จุดคุ้มทุน และเงินทุนหมุนเวียน

 

2. ด้านพัฒนาการออกแบบ
พัฒนาบรรจุภัณฑ์ (Packaging design) เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า

ออกแบบตราสินค้า (Logo design) เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า


3. ด้านพัฒนาการแปรรูปสินค้าและการพัฒนาต่อยอดสินค้า

การยืดอายุสินค้า
การทดสอบและรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์อาหารระดับ มผช.
การแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร

 

4. ด้านการพัฒนาการผลิต
การออกแบบเครื่องจักรในกระบวนการผลิต เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตและเพื่อลดต้นทุนการผลิต

 

5. ด้านเงินทุน
เชื่อมโยงแหล่งทุนที่ให้การสนับสนุนผู้ประกอบการผ่านมหาวิทยาลัย

Our targets

กลุ่มเป้าหมายของศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มทร.อีสาน

 

ผู้ประกอบการใหม่ ที่สนใจและมีศักยภาพในการพัฒนาธุรกิจ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการใช้องค์ความรู้ของมหาวิทยาลัยเป็นหลัก ได้แก่

1) นักศึกษามหาวิทยาลัย

2) บัณฑิตและศิษย์เก่ามหาวิทยาลัย 
3) เจ้าของผลงานวิจัย นักประดิษฐ์นวัตกรรมและผลงานสร้างสรรค์ 
4) อาจารย์และบุคลากรของมหาวิทยาลัย
5) บุคคลภายนอก

Main Business Area

ประเภทกลุ่มธุรกิจที่ RMUTI UBI ให้การสนับสนุน (ภายใต้เงื่อนไข TOR พ.ศ.2558)

 

1) Science & Technology Business (STB) 

ธุรกิจที่มีการใช้วิทยาศาสตร์หรือเทคโนโลยีขั้นสูงที่มีการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และสามารถประเมินได้อย่างชัดเจนว่าเป็นเทคโนโลยีที่มีศักยภาพทางธุรกิจในระดับสูง (ในกรณีที่ผลงานหรือเทคโนโลยีหรือทรัพย์สินทางปัญญา เป็นของมหาวิทยาลัยอื่นจะต้องได้รับความเห็นชอบจากมหาวิทยาลัย และหรือมีการดำเนินการขอใช้สิทธิ์ตามระบบและกลไกของมหาวิทยาลัยนั้นๆ

 

2) General Technology Business (GTB)

ธุรกิจที่มีการปรับปรุง พัฒนา และ/หรือ ต่อยอดผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่เดิมในระดับที่สูงขึ้นอย่างชัดเจน เช่น การใช้กระบวนการผลิตใหม่ (Reverse Engineering) การประยุกต์ใช้ใหม่ (new application) เป็นต้น

 

3) Creative Business (CB)

ธุรกิจหรือผลิตภัณฑ์ที่เน้นความคิดสร้างสรรค์ เช่น ผลิตภัณฑ์จากความคิดสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรม /ประเพณี /ศิลปะ /ประวัติศาสตร์ /ธรรมชาติ /ภูมิปัญญาท้องถิ่น /ธุรกิจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร /Animation /Digital Content เป็นต้น

 

4) Innovative Service Business (ISB)

ธุรกิจบริการที่เน้นการบริการที่มีนวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ในการให้บริการหรือมีความแตกต่างในรูปแบบ/กระบวนการในการให้บริการ

 

Service Process for Start-up Business

กระบวนการในการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ประเภท Start-up Business (ระยะเวลา 2 ปี)

 

รอบ 6 เดือน

  • ดำเนินการคัดเลือก Incubatees และจัดทำแผนการดำเนินการธุรกิจ (Plan to do Business) แล้วเสร็จ 

  • ดำเนินการบ่มเพาะธุรกิจตามแผนการบ่มเพาะผู้ประกอบการแต่ละราย

  • มีที่ปรึกษา (Project Consultant) ให้ Incubatees  ตามความเหมาะสมของแต่ละ Incubatees

 

รอบ 12 เดือน

  • มีการพัฒนาเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์ – บริการ (Technology  Product Development) 

  • มีการพัฒนาแผนการตลาด

 

รอบ 18 เดือน

  • มีการทดสอบตลาดและนำข้อมูลมาปรับปรุงให้ตอบสนอง Customer Needs

  • นำผลิตภัณฑ์-บริการ (สินค้า) ที่พัฒนาแล้วออกสู่ท้องตลาด

 

รอบ 24 เดือน

  • มีรายรับที่มีความต่อเนื่อง และมีรายได้รวมไม่น้อยกว่า 120,000 บาท/ปี (ย้อนหลัง 6 เดือน) 

Service Process for Spin-off Business

กระบวนการในการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ประเภท Spin-off Business (ระยะเวลา 2 ปี)

 

หมายเหตุ ต้องผ่านการเป็นผู้ประกอบการใหม่ประเภท Start-up Business มาก่อน

 

รอบ 6 เดือน

  • กำหนด Start up Companies ที่จะยกระดับเป็น Spin off Companies โดยมีแผนพัฒนาการทาง Business & Technology และระยะเวลาที่ชัดเจน

  • พัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ - บริการ (สินค้า) อย่างต่อเนื่อง

  • มีการขยายตัว - เพิ่มยอดขายของผลิตภัณฑ์ - บริการ (สินค้า)

 

รอบ 12 เดือน

  • สร้าง Brand ของผลิตภัณฑ์ - บริการ (สินค้า) อยู่ในระดับที่ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภค

  • มีการจ้างงานเพิ่มไม่น้อยกว่า 1 ราย 

  • มีระบบบัญชีรายรับ (Income) ที่ครอบคลุมทุกต้นทุนการผลิตและมีบัญชีรายรับ-รายจ่ายที่แสดงถึงผลการดำเนินงานขององค์กร

 

รอบ 18 เดือน

  • มีการจดทะเบียนธุรกิจเป็นนิติบุคคล

 

หมายเหตุ:

  • ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน: ต้องมีส่วนของเจ้าของเกินกว่าร้อยละ 50 และดำรงตำแหน่งหุ้นส่วนผู้จัดการ

  • บริษัทจำกัด: ต้องถือหุ้นสามัญเกินกว่าร้อยละ 50 และเป็นกรรมการผู้จัดการหรือกรรมการที่มีอำนาจเต็ม อนึ่ง ความเป็นเจ้าของและอำนาจบริหารข้างต้น ต้องดำรงอยู่ตลอดระยะเวลาที่บ่มเพาะตามโครงการ

 

รอบ 24 เดือน

  • มีการแสดงบัญชีรายได้/ รายรับ ย้อนหลัง  6-12 เดือน ไม่น้อยกว่า 600,000 บาท/ปี (ยกเว้นธุรกิจประเภท STB มีรายได้ไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท/ปี) 

  • มีกำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin : ยังไม่หักค่าใช้จ่ายในการบริหารและดำเนินการอื่นๆ) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 

  • มีรายงานกิจกรรมการบ่มเพาะธุรกิจช่วง Incubation Period ตามแผนพัฒนาการที่

  • กำหนดไว้ครบถ้วน ในรูปแบบรายงานการเงินที่รับรองโดยผู้ตรวจสอบบัญชี

 

ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

RMUTI University Business Incubator

bottom of page